วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

FireChat App. การประท้วงที่ฮ่องกง และ ประเด็นความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร : ไทยไพรเวซี่ลอว์ by คณาธิป ทองรวีวงศ์



FireChat App.  กาประท้วงที่ฮ่องกง กับประเด็นความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร

การสื่อสารของมนุษย์ในปัจจุบันย่อมมีหนทางของมัน
  มนุษย์ทุกวันนี้ อาจอดอาหาร อาจอดนอน
   แต่ไม่อาจจะอดการสื่อสารกันได้อย่างเด็ดขาด
     ดังนั้น   เมื่อมีอุปสรรคใดๆ ที่เกิดขึ้นกับการสื่อสาร  ก็จะเป็นโอกาสให้มีคนคิดค้นหาทางออก
             เพื่อให้การสื่อสารดำเนินต่อไปได้ 

ตัวอย่างเช่น  เมื่อการสื่อสารที่ต้องพึ่งพา สัญญาณเน็ตทั้งแบบมีสาย หรือแบบ Wi-Fi       หากเกิดสัญญาณขัดข้อง ก็สื่อสารไม่ได้      จึงมีผู้คิดค้น Application สำหรับการสื่อสาร ที่ไม่ต้องพึ่งพาสัญญาณดังกล่าว   เช่น FireChat อันนี้
   เมื่อสัญญาณเน็ต ขัดข้อง หรือถูกบล็อค    ก็ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับผู้ที่ใช้ App นี้



FireChat โด่งดังขึ้น เมื่อการประท้วงที่ฮ่องกง 
  เนื่องจากผู้ชุมนุมใช้ App ดังกล่าว ในการสื่อสารระหว่างกัน
โดยไม่ต้องสนใจว่า สัญญาณเน็ตจะมีหรือไม่ 

              FireChat นี้ ได้รับการพัฒนาโดย Open Garden ซึ่ง Micha Benoliel ซีอีโอของ Open Garden ได้อธิบายไว้ว่า การทำงานของ App นี้ ทำงานผ่านทาง  Multipeer Connectivity Framework บน iOS ซึ่งทำให้ผู้ใช้ FireChat สามารถคุย ส่งข้อมูล เช่น ภาพถ่าย  ถึงกันได้ โดยมีหลักการให้แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย และส่งต่อจากเครื่องหนึ่งไปเครื่องหนึ่งในเครือข่าย  โดยเชื่อมต่อกันผ่าน Bluetooth  
             จริงอยู่ว่า สัญญาณ Bluetooth อาจมีรัศมีไม่กว้างนัก ประมาณซัก 10 เมตร  แต่เมื่อมีกลุ่มคนใช้อยู่กันเยอะๆ เชื่อมต่อจากเครื่องไปอีกเครื่อง มันก็ลามต่อกันไปได้เรื่อยๆ
      
FireChat มีประเด็นทางกฎหมายและสิทธิส่วนบุคคลมากมาย  เช่น
-          ประเด็นคลาสสิค ระหว่างรัฐกับประชาชนที่มีมาเนิ่นนาน ได้แก่การเซ็นเซอร์สื่อ หรือการสื่อสารข้อมูล  เมื่อก่อนอาจทำได้ไม่ยาก แค่สกัดสื่อหลักก็จบ     ในปัจจุบัน เป็นไปค่อนข้างยากถึงยากที่สุด   ดังที่เกริ่นไว้ข้างต้นว่า  คนจะสื่อสารย่อมหาทางสื่อสารกันจนได้     เป็นการยากที่รัฐใดจะสกัดกั้นการสื่อสารของคนได้อย่างสิ้นเชิง  ตัวอย่างเช่น App นี้      แม้รัฐจะบล็อกสัญญาณเน็ต แต่คนก็มาหาทางสื่อสารทางอื่นกันต่อไป

-          ประเด็นสิทธิส่วนบุคคล   แม้ว่า App นี้จะทำให้คนสื่อสารกันได้ ข้ามผ่านการบล็อกหรือการเซ็นเซอร์    แต่ก็ยากที่จะรอดจากการ สอดส่อง” 

-            ไทยไพรเวซี่ลอว์  ย้ำเสมอมาถึงความแตกต่างระหว่างการ “censorship” และ “surveillance”  ทั้งสองอย่างต่างก็เป็นการละเมิดสิทธิพื้นฐานของประชาชนในการสื่อสารรวมทั้งความเป็นส่วนตัว  แต่ทั้งสองอย่างมีความน่ากลัว ขอบเขต และลักษณะพื้นฐานแตกต่างกัน

ไทยไพรเวซี่ลอว์เห็นว่า การสอดส่อง หรือ surveillance น่ากลัวกว่า censorship   เพราะอย่างที่บอกแล้วว่า ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน  ทำให้ censorship ทำได้ยากลงทุกวัน น้อยลงไปเรื่อยๆ    แต่ในทางกลับกัน surveillance กลับทำได้ด้วยวิธีการหลากหลายมากขึ้น และขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ


ดังที่ Christophe Daligault ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ Open Garden กล่าวว่า

“Everything you type on FireChat is completely public,”.[1] 






[1] FireChat Prepares Encryption Feature As It Drives Hong Kong Protests(http://www.forbes.com/fdc/welcome_mjx.shtml)  อย่างไรก็ดี แม้ว่าต่อไป จะมี  Encryption Feature  เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวในการสนทนา  แต่ก็ไม่อาจการันตีได้อย่างสมบูรณ์ถึงความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารทาง App ใดๆก็ตาม

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น