วันเด็ก 2558
ไทยไพรเวซี่ เห็นกระแสเดิมๆ ที่ยังคงต้องมีต่อไปเหมือนอย่างที่่ผ่านๆมา
แต่มันก็มากขึ้นเรื่อยๆ
และก็คงเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกหลายๆปี
นั่นคือ การแชร์ภาพตัวเอง
ไม่ใช่ภาพตัวเองในปัจจุบันที่ถ่ายและอัพกันทุก 2 นาที
แต่เป็นภาพตัวเองในอดีต อันใกล้บ้าง ไกลโพ้นบ้าง แล้วแต่ช่วงเวลาของแต่ละคน
กระแสนี้สะท้อนอะไรบางอย่าง ในมุมมองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อแรก มันก็คือการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองด้วยความสมัครใจ หรือยินยอม
ซึ่งหากมีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลเหล่านั้น กฎหมายก็คุ้มครองได้น้อยมาก
ข้อสอง ที่น่าสนใจกว่าข้อแรกคือ การแชร์ภาพเด็กของตัวเอง ต่างกับการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล ที่ทำกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็คือการถ่ายภาพซึ่งเป็นข้อมูลดิจิทัล ในกล้องสมาร์ทโฟนแล้วก็แชร์มันลงไปทันที
แต่การ โพสต์ภาพตัวเองตอนเด็ก
มันเป็นการนำเอาข้อมูลจากอีกยุคหนึ่ง เข้ามาโอนถ่าย สู่ระบบในอีกยุคหนึ่ง
ข้อมูลในยุคที่ภาพอยู่ในรูปของแผ่นฟิล์มที่นำมาอัดลงบนกระดาษ
ข้อมูลในยุคนั้น ส่วนใหญ่อยู่บนกระดาษบ้าง หรืออาจอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
เรียกได้ว่า อยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่ไม่อยู่ในระบบการค้นหาออนไลน์ปัจจุบัน
จริงอยู่ว่า บางคนเพิ่งผ่านวัยเด็กมาไม่นาน
ภาพวัยเด็กของเค้า ก็อาจถ่ายเอาไว้ด้วยกล้องดิจิทัล
การนำมาโพสต์ในวันเด็ก ก็ไม่ได้ดูข้ามยุคสักเท่าไร
แต่ภาพวัยเด็กสมัยก่อนกำเนิดกล้องดิจิทัลมีมากมาย ที่ถูกนำมาถ่าย และเปลี่ยนสภาพให้เป็นข้อมูลดิจิทัลพร้อมแชร์
กระแสการโพสต์ภาพวัยเด็ก เป็นจุดเล็กๆแต่สะท้อนถึงการหลอมรวมข้อมูลต่างยุคต่างสมัย
นอกจากภาพวัยเด็กแล้ว
ภาพของสะสมวัยเด็ก ภาพในอดีตต่างๆ ได้ถูกนำมาแลกเปลี่ยนในโลกโซเชียล
มันอาจสอดประสานกับกระแสอื่นๆ เช่น โหยหาอดีต หรืออะไรก็แล้วแต่
สุดท้ายแล้ว ข้อมูลจากสองยุค ก็ถูกกระแสโซเชียล พัดเข้ามารวมเป็นกองเดียวกัน
กฎหมายที่มีอยู่ (ซึ่งไม่มี พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล)
และที่กำลังจะมี (พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล ที่ ครม เสนอเข้า สนช เข้าใจว่าจะอยู่บนพื้่นฐานการส่งเสริมให้ข้อมูลไหลเวียนมากๆ เพื่อการค้า มากกว่าการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล) จะมากำกับ ควบคุม หรือคุ้มครองข้อมูลพวกนี้ได้แค่ไหนกัน ?
www.thaiprivacylaw.com