วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความเป็นส่วนตัวของลูกหนี้ที่หายไป กรณี การทวงหนี้ (ระหว่างคนธรรมดาด้วยกัน) : ไทยไพรเวซี่ by คณาธิป






 การทวงหนี้  อาจแบ่งได้สองกรณี

  (1) การทวงหนี้ จากองค์กรธุรกิจ  ที่มูลหนี้มักจะเกิดจากสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ เช่น การที่เราใช้บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้บัตรเครดิต    บริษัทเจ้าหนี้อาจทวงเอง หรือจ้างให้หน่วยธุรกิจอื่นที่รับบริหารจัดการในการ ทวงนี้ 

 ในทางกฎหมายเคยมีการเสนอร่าง
พระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม

ซึ่งไทยไพรเวซี่ เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ เพราะเป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลที่สำคัญ
มีหลักการกำหนดห้ามพฤติกรรมการรบกวนสิทธิส่วนบุคคลของการทวงหนี้
เช่น เวลาการทวง
การจำกัดการทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ (ป้องกันการประจาน หรือรบกวนคนอื่น)

ฯลฯ

แต่ร่างกฎหมายนี้  ครอบคลุม ผู้กระทำที่เป็นองค์กรธุรกิจ
 ดังจะเห็นได้จากนิยามของ ผู้ให้สินเชื่อ


 คือ
                   (๑)  นิติบุคคลที่ให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ
                   (๒)  นิติบุคคลที่รับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อจาก (๑)
                   (๓)  นิติบุคคลที่รับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อจาก (๒)
                   (๔)  บุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                   “ผู้ติดตามหนี้” หมายความว่า ผู้ให้สินเชื่อ ผู้รับมอบอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงในการติดตามทวงถามหนี้จากผู้ให้สินเชื่อ ทั้งนี้ ไม่ให้หมายรวมถึง


จะเห็นได้ว่า ครอบคลุมกรณี  เจ้าหนี้สถาบันเช่นธนาคาร บริษัทที่ให้สินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ
แต่ไม่ครอบคลุม เจ้าหนี้บุคคลทั่วไป   ดังกรณีต่อไปนี้


 (2) การทวงหนี้ส่วนบุคคล ดังเช่นที่เห็นตามตัวอย่างในภาพข้างบน เป็นกรณีการทวงหนี้ระหว่างบุคคลธรรมดาด้วยกัน  เพื่อนให้ยืมเงินเพื่อน  ให้ญาติยืม  คนรู้จัก ซึ่งไม่ได้มีลักษณะเชิงธุรกิจเหมือนกรณีแรก

กรณีนี้ ไม่อยู่ในร่าง พรบ ทวงหนี้ ฯ

    ในมุมมองของเจ้าหนี้ บางครั้ง ก็น่าเห็นใจ เพราะต้องยอมรับว่า ก่อนเป็นหนี้ ลูกหนี้ต้องเป็นฝ่ายเกรงใจ ว่าจะให้กู้หรือไม่  แต่พอก่อหนี้เรียบร้อยแล้ว คนหนักใจก็จะตกเป็นฝ่ายเจ้าหนี้
 เพราะลูกหนี้อาจจะเป็นฝ่าย ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย หรือ   มี ไม่หนี แต่ไม่จ่าย อะไรก็แล้วแต่ 
 ดังนั้นจึงนำมาสู่การทวงหนี้ระหว่างบุคคลดังกรณีตัวอย่างนี้


กรณีนี้สะท้อนถึง แนวคิด พื้นที่สาธารณะ  พื้นที่ส่วนบุคคล
 พื้นที่ส่วนรวม ทางสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะเฟสบุค

การไป ฝากทวงหนี้ ตามหน้ากระดานเพื่อนๆ เพื่อสื่อไปถึง ลูกหนี้
จะต่างอะไรหรือไม่ กับ การเขียนประกาศแล้วเดินไปแปะตามหน้าบ้านเพื่อนๆ เพื่อสื่อไปถึงตัวลูกหนี้


การประจานเช่นนี้ กระทบไพรเวซี่หรือไม่   มีกฎหมายอะไรคุ้มครองไพรเวซี่ของลูกหนี้จากเจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาทั่วไปหรือไม่

      หรือลูกหนี้  ไม่สามารถอ้างไพรเวซี่เลย