วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

วันเด็ก & ภาพวัยเด็ก : ข้อมูลที่ไหลผ่านกาลเวลา (ไทยไพรเวซี่ by คณาธิป)

วันเด็ก 2558


ไทยไพรเวซี่  เห็นกระแสเดิมๆ ที่ยังคงต้องมีต่อไปเหมือนอย่างที่่ผ่านๆมา
   แต่มันก็มากขึ้นเรื่อยๆ
     และก็คงเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกหลายๆปี
          นั่นคือ การแชร์ภาพตัวเอง
              ไม่ใช่ภาพตัวเองในปัจจุบันที่ถ่ายและอัพกันทุก 2 นาที
                แต่เป็นภาพตัวเองในอดีต   อันใกล้บ้าง ไกลโพ้นบ้าง แล้วแต่ช่วงเวลาของแต่ละคน



กระแสนี้สะท้อนอะไรบางอย่าง ในมุมมองข้อมูลส่วนบุคคล

     ข้อแรก มันก็คือการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองด้วยความสมัครใจ  หรือยินยอม
            ซึ่งหากมีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลเหล่านั้น  กฎหมายก็คุ้มครองได้น้อยมาก
             

   ข้อสอง ที่น่าสนใจกว่าข้อแรกคือ  การแชร์ภาพเด็กของตัวเอง  ต่างกับการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล ที่ทำกันอยู่ในชีวิตประจำวัน   ซึ่งก็คือการถ่ายภาพซึ่งเป็นข้อมูลดิจิทัล ในกล้องสมาร์ทโฟนแล้วก็แชร์มันลงไปทันที
          แต่การ โพสต์ภาพตัวเองตอนเด็ก
                มันเป็นการนำเอาข้อมูลจากอีกยุคหนึ่ง เข้ามาโอนถ่าย สู่ระบบในอีกยุคหนึ่ง
                  ข้อมูลในยุคที่ภาพอยู่ในรูปของแผ่นฟิล์มที่นำมาอัดลงบนกระดาษ
                   ข้อมูลในยุคนั้น ส่วนใหญ่อยู่บนกระดาษบ้าง  หรืออาจอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
                         เรียกได้ว่า อยู่ในอีกโลกหนึ่ง  ที่ไม่อยู่ในระบบการค้นหาออนไลน์ปัจจุบัน

จริงอยู่ว่า  บางคนเพิ่งผ่านวัยเด็กมาไม่นาน
       ภาพวัยเด็กของเค้า  ก็อาจถ่ายเอาไว้ด้วยกล้องดิจิทัล
             การนำมาโพสต์ในวันเด็ก  ก็ไม่ได้ดูข้ามยุคสักเท่าไร

                 แต่ภาพวัยเด็กสมัยก่อนกำเนิดกล้องดิจิทัลมีมากมาย ที่ถูกนำมาถ่าย และเปลี่ยนสภาพให้เป็นข้อมูลดิจิทัลพร้อมแชร์
               



กระแสการโพสต์ภาพวัยเด็ก  เป็นจุดเล็กๆแต่สะท้อนถึงการหลอมรวมข้อมูลต่างยุคต่างสมัย

           นอกจากภาพวัยเด็กแล้ว

                ภาพของสะสมวัยเด็ก ภาพในอดีตต่างๆ  ได้ถูกนำมาแลกเปลี่ยนในโลกโซเชียล

  มันอาจสอดประสานกับกระแสอื่นๆ เช่น โหยหาอดีต  หรืออะไรก็แล้วแต่

   สุดท้ายแล้ว ข้อมูลจากสองยุค ก็ถูกกระแสโซเชียล พัดเข้ามารวมเป็นกองเดียวกัน

           
    กฎหมายที่มีอยู่ (ซึ่งไม่มี พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล)
  และที่กำลังจะมี   (พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล ที่ ครม เสนอเข้า สนช    เข้าใจว่าจะอยู่บนพื้่นฐานการส่งเสริมให้ข้อมูลไหลเวียนมากๆ เพื่อการค้า มากกว่าการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล)  จะมากำกับ ควบคุม หรือคุ้มครองข้อมูลพวกนี้ได้แค่ไหนกัน ?

         




www.thaiprivacylaw.com
   

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Privacy in Hotel : แขกแอบถ่ายพนักงานโรงแรม

ประเด็นความเป็นส่วนตัวกรณีแขกหรือนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรม ในกรณีการถูกถ่ายภาพหรือวีดิทัศน์นั้น เรามักจะเคยได้ยินและคิดถึงแต่กรณี แขกเป็นผู้ถูกกระทำ นั่นคือ แขกที่เข้าพักถูกโรงแรมถ่ายภาพ วีดิทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายตามปกติ เช่น กล้อง CCTV ที่ติดบริเวณต่างๆของโรงแรมเพื่อความปลอดภัยตามปกติในการบริหารจัดการ หรือกรณีการถ่ายที่คาบเกี่ยวกับความผิดกฎหมาย เช่น แอบติดตั้งกล้องในห้องพัก หรือในห้องน้ำ หรือการแอบถ่ายที่กระทำโดยพนักงานของโรงแรมเอง กรณีที่เป็นข่าว ก็มักจะมีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับ การถ่ายภาพในลักษณะ ลามกอนาจาร แต่ในยุคปัจจุบันที่การถ่ายภาพเกิดขึ้นโดยอุปกรณ์ต่างๆหลากหลาย พนักงานโรงแรมก็เป็นฝ่ายถูกแอบถ่ายได้เหมือนกัน ทิศทางการกระทำจึงดูแตกต่างออกไป จากเดิม โรงแรม/พนักงาน ถ่ายแขก เป็น แขก ถ่าย พนักงานโรงแรม วัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพ ของแขกในกรณีนี้ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับการลามกอนาจาร ไม่ใช่แอบถ่ายใต้กระโปรงพนักงานแต่อย่างใด เป็นกรณีแขกแอบตั้งกล้องบันทึกวีดีทัศน์ไว้ ขณะตัวเองไม่อยู่ในห้อง เพื่อดูว่า พนักงานที่เข้ามาทำห้องนั้น ทำอะไรกับสิ่งของของตนบ้างหรือไม่ ประเด็นนี้น่าสนใจมาก ปกติเวลาเราเข้าพักโรงแรมแล้วออกไปข้างนอก หรือจะอยู่ต่ออีกคืน ก็จะมีพนักงานเข้ามาทำความสะอาด โดยทั่วไปก็จะมีการเกี่ยวข้องหรือแตะต้องกับสิ่งของสัมภาระของแขกบ้างโดยสภาพ เช่น ต้องมีการจับเคลื่อนย้าย เพื่อทำความสะอาด หรืออาจเข้ามาจัดของให้เป็นระเบียบ ตามหลักแล้ว พนักงานก็จะถูกอบรม มีระเบียบปฎิบัติไม่ให้รื้อค้นสิ่งของแขกอยู่แล้ว แต่ก็คงมีปัญหาทางปฎิบัติถึงขอบเขตว่า แค่ไหน เพียงไร ที่พนักงานจะเข้ามาแตะต้องสิ่งของแขกได้ แขกบางคน จึงทำการ แอบถ่าย ตั้งกล้องไว้เวลาตัวเองไม่อยู่ จึงได้ภาพมาเช่นนี้ https://www.youtube.com/watch?v=oulbBdmGH8o มีเส้นบางๆที่แบ่งระหว่าง ขอบเขตการทำหน้าที่แม่บ้าน กับการ รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของแขก คงต้องดูรายละเอียดเป็นกรณีไป การเปิดตู เปิดเตียง น่าจะพอถือว่าอยู่ในขอบเขตการ ทำความสะอาด แต่ เปิดกระเป๋าเดินทางแขกขึ้นมาดูอันนี้คงจะเกินขอบเขตในการจัดของเพื่อทำความสะอาดไปหน่อย ถ้าหยิบคอมฯ หรือขยับ เพื่อจะปัดกวาด ก็น่าจะอยู่ในขอบเขตการทำความสะอาด แต่ถ้า เปิดเครื่องของเขาเลย อันนี้ก็น่าจะเกินขอบเขต ดูเหมือนแม่บ้านจะพยายามทำอะไรสักอย่างกับเครื่องแลปทอปของแขกที่ตั้งกล้องถ่ายเอาไว้ การทำความสะอาด กับ การรุกล้ำความเป็นส่วนตัว เป็นประเด็นที่ต้องดูในรายละเอียดจริงๆ ******* ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.yahoo.com/travel/hotel-maid-seen-messing-with-guests-laptop-and-102412669862.html?hp=1

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ข่มขืนหมา - ตุ๊กตายาง และ สิทธิส่วนบุคคล : ไทยไพรเวซี่ by คณาธิป





ข่มขืนหมา  - ตุ๊กตายาง   และ สิทธิส่วนบุคคล  : ไทยไพรเวซี่ by คณาธิป


เจอคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์อันหนึ่ง จริงๆแล้วเป็นข่าวเก่า
http://www.thairath.co.th/content/247947
ประกอบกับพอดีเห็นข่าว คนข่มขืนสุนัข ที่มีมาอยู่เรี่อยๆในระยะนี้
                บวกกับจากการที่ได้ไปร่วมเสวนาในงานของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  เมื่อ 28 ตค 57 ที่ผ่านมา (จะได้เขียนบทความเรื่องนี้อีกอันหนึ่ง)  เกี่ยวกับ ร่าง พรบ สิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ที่ สนช อาจออกเป็นกฎหมายใหม่มานั้น 
 รวมกันทำให้ คิดเชื่อมโยงประเด็น สิทธิส่วนบุคคล และร่างกฎหมายใหม่ดังกล่าว  จึงมาเป็นบทความวันนี้

มาดูคอลัมน์ในข่าวเรื่องตุ๊กตายางก่อน 



 

   ภาพจากไทยรัฐออนไลน์ : http://truecdn1.thairath.co.th/content/247947







 คอลัมน์นี้ เป็นเรื่อง ตุ๊กตายาง  และมีเนื้อความในทางเรียกร้องสิทธิ คือ 
วอนเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ  และ  วอนผู้เกี่ยวข้องต้องรีบจัดการกวาดล้างด่วน..
  จากถ้อยคำดังกล่าว จะว่าผิด หรือไม่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่ใช่ เพราะมีกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและดำเนินการกับตุ๊กตายางซึ่งจัดเป็นเซ็กซ์ทอยได้

กฎหมายอะไรบ้าง  ลองดูคร่าวๆ
เวลามีข่าวเจ้าหน้าที่จับร้านขายอุปกรณ์เซ็กซ์ทอย ต้องแยกพิจารณาว่า มันมีอะไรเกี่ยวข้องบ้างเพราะจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ทั้งกฎหมายเกี่ยวกับ ยา อาหารเสริม หรืออุปกรณ์ต่างๆ
ถ้าเป็นพวก ยา อาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศ ก็จะต้องดูกฎหมายเกี่ยวกับยา หากเป็นยาปลอมเข้าไปอีกก็มีโทษที่กำหนดไว้เฉพาะ เช่น
1.ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
 2.ขายยาปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท
3. ขายยาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ขายวัตถุออกฤทธิ์ฯ ประเภท 3-4 โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท และ
5. ขายวัตถุออกฤทธิ์ที่ไม่ขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทีนี้ในส่วนของตุ๊กตายาง  มันไม่ได้อยู่ในนิยามของ ยา   ตามกฎหมายเกี่ยวกับยา
  แต่อาจถือเป็น สิ่งอื่นใดอันลามกตาม กฎหมายอาญา 287 (โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)    ถ้ามีการนำเข้าหรือค้าวัตถุดังกล่าวก็มีความผิดมาตรานี้ เช่นเดียวกับพวกเซ็กซ์ทอยอื่นๆ
น่าคิดว่า    หากจำเลยต่อสู้เป็นประเด็นให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตุ๊กตายาง  จัดเป็นสิ่งลามก ตาม ปอ 287 หรือไม่     ถ้าเราบอกว่า ตุ๊กตายางนั้นน่ารักดี   จะเอามาประดับตกแต่งบ้านให้มันร้องครางฮือๆเล่น   ตามแฟชั่นตุ๊กตาแอนนาเบล    จะยังคงถือเป็น วัตถุลามกหรือไม่ ?
ประเด็นสำคัญของไทยไพรเวซี่ก็คือ

มันจำเป็นมากหรือไม่ ที่จะกำหนดให้ เซ็กซ์ทอย เป็นสิ่งลามก อันผิดกฎหมาย
 การกำหนดห้ามพวกยาปลุกเซกซ์ต่างๆ ก็โอเค มีเหตุผลเพราะมันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ฯลฯ   คนที่ต้องการบำบัดการเสื่อมสมรรถภาพ ควรได้รับการแนะนำจากแพทย์โดยได้ยาอย่างถูกต้อง   กฎหมายเหล่านี้ก็ยังมีเหตุผล
 เซ็กซ์ทอยบางอย่าง อาจนำไปใช้กับบุคคลอื่นด้วย จนอาจทำให้เกิดอันตราย ก็เป็นเหตุผลที่พอฟังได้
แต่ตุ๊กตายาง ที่ผู้ใช้งาน ใช้โดยไม่ได้ยุ่งกับใคร  ทำเป็นการส่วนตัว    มันเป็นสิทธิส่วนบุคคลโดยเฉพาะของเขามิใช่หรือ     
การทำอะไรกับตุ๊กตายาง ในที่ส่วนตัว   ก็มองไม่ออกเช่นกัน ว่าจะไปกระทบศีลธรรมอันดีได้อย่างไร
ถ้าเช่นนั้น การช่วยตัวเอง  โดยไม่มีอุปกรณ์เสริมใดๆเลย  ขัดต่อศีลธรรมอันดีอีกหรือไม่ ?
แม้จะยังไม่เห็นมีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่า ตุ๊กตายาง ส่งผลต่อการลดการประกอบอาชญากรรมทางเพศได้เท่าไร อย่างไร ในพื้นที่ไหน  
แต่โดยสามัญสำนึกทั่วไป  ก็น่าจะกล่าวได้ว่า   หากมี พื้นที่ ให้คนได้ปลดปล่อย  การที่คนจะไปล่วงละเมิดชาวบ้าน น่าจะลดลงไม่มากก็น้อย    
รวมทั้งน้องหมาน้องแมว ที่อาจถูกคนลากเอาไปข่มขืนอย่างที่เป็นข่าวช่วงนี้
ตุ๊กตายาง อาจจะ เป็นสิ่งที่ช่วยคุ้มครอง สวัสดิภาพสัตว์ ที่หลายคนเรียกร้อง ก็เป็นได้
 ตุ๊กตายางอาจลดปัญหาการค้าประเวณี  การมีอยู่ของสถานบริการ  ก็เป็นได้
หรือเราไม่อยากให้ตุ๊กตายาง ไปแย่งอาชีพและการประกอบธุรกิจดังกล่าว  ?

การห้ามค้าขายตุ๊กตายาง จึงอาจมองได้ว่า เป็นกฎหมายที่เข้าไปยุ่งเกี่ยว พื้นที่ส่วนตัว ของบุคคล จนเกินไป
แม้ว่าไม่ได้ห้ามการครอบครอง  แต่ การห้ามค้า ก็ย่อมทำให้เกิดการลักลอบค้า   เป็นธรรมดา
 ดังนั้น กฎหมายก็ยิ่งทำให้ตุ๊กตายางมีราคาแพง  ทั้งนี้ตามหลักอุปสงค์ อุปทาน ทั่วๆไป
การเข้าถึงตุ๊กตายางราคาประหยัด  อาจส่งผลทำให้ลดความผิดทางเพศที่กระทำต่อ คน หรือแม้แต่หมาแมว ได้หรือไม่    น่าเป็นประเด็นสำหรับงานวิจัย  
ข้อน่าคิดต่อไป  หาก พรบ ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ที่จะเข้า สนช  ออกมาเป็นกฎหมาย 
จะเกิดประเด็นว่า เซ็กซ์ทอย  เป็นความผิดกฎหมายนี้หรือไม่

ลองดูเนื้อหา ร่าง กฎหมาย สิ่งยั่วยุฯ
สิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย หมายความว่า เอกสาร ภาพ สิ่งพิมพ์ รูปรอย เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ เสียงหรือถ้อยคำ ข้อความ ข้อมูล หรือสิ่งใด ที่กระตุ้น ส่งเสริม
หรือยั่วยุ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิด
                   () การกระทำวิปริตทางเพศ
                   () ความสัมพันธ์หรือการกระทำทางเพศกับเด็ก
                   () การกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก
                   () การฆ่าตัวตายของเด็กหรือเป็นหมู่คณะ
                   () การใช้ยาเสพติด หรือ
                   () การกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฆ่าผู้อื่น
หรือทำร้ายร่างกายโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
                   การกระทำวิปริตทางเพศ หมายความว่า ความสัมพันธ์หรือการกระทำทางเพศ
ในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
                   () ระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้อง
ร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน
                   () โดยใช้ความรุนแรงถึงขนาดที่น่าจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือโดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิต
                   () โดยการบังคับขู่เข็ญหรือข่มขืนใจ
                   () ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และรวมถึงการร่วมประเวณีหมู่ด้วย
                   () โดยการชำเราสัตว์หรือชำเราศพ


แน่นอน เมื่อกฎหมายนี้ใช้บังคับ  สิ่งยั่วยุให้คนไปข่มขืนสัตว์ อาจผิดกฎหมายนี้
เพราะพฤติกรรมข่มขืนสัตว์ จัดเป็นพฤติกรรมอันตราย ในหมวดของ การวิปริตทางเพศ
แต่ตัวการกระทำข่มขืนสัตว์เอง  อาจจะต้องรอกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์อีกฉบับ
ดูยุ่งยากซับซ้อน

สำหรับ ตุ๊กตายาง และการช่วยตัวเอง คงไม่อาจตีความว่า เป็น การกระทำวิปริตทางเพศได้
แต่อาจจะถือเป็นสิ่งยั่วยุ การกระทำทางเพศกับเด็ก หรือไม่ ?   
จะพิสูจน์อย่างไรว่า
นาย ก  เล่นกับ ตุ๊กตายาง ที่มีลักษณะเป็นผู้หญิงที่โตแล้ว   จะส่งผลทำให้ นาย ก เกิดอารมณ์ไปข่มขืนเด็กอายุ 10 ขวบ ?

ตุ๊กตายาง รวมทั้งเซ็กซ์ทอยอื่นๆ จะถูกตีความว่าเป็นสิ่งยั่วยุ ตาม กฎหมายใหม่นี้ด้วยอีกหรือไม่  ?


แต่ประเด็นที่ไทยไพรเวซี่   ให้ความสำคัญก็คือ
 การที่    กฎหมาย ก้าวล้ำเข้าไปควบคุม พฤติกรรมต่างๆ อันเป็น กิจกรรมส่วนบุคคลของคนอื่น ดังเช่นเล่นกับตุ๊กตายาง  ที่ไม่กระทบต่อสิทธิของคนอื่นๆ หรือแม้แต่สัตว์อื่นๆ แล้ว
จะถือว่ากฎหมายเหล่านั้นขัดต่อสิทธิพื้นฐานของมนุษย์หรือไม่

สื่อเขียนคอลัมน์ว่า

เสื่อมหนัก  เว็บไซต์เสื่อมๆ…”

เหมือนจะชี้ผู้เสพสื่อไปแล้วว่า  มันเป็นของไม่ดี ควรกำจัด  กฎหมายควรลงโทษ

ไทยไพรเวซี่    เห็นด้วยกับสื่อว่า มีอะไรที่  เสื่อม
เพียงแต่ ไม่แน่ใจว่าอะไรเสื่อมกันแน่
             คนเล่นตุ๊กตายาง   ศีลธรรมอันดี หรือ กฎหมาย

แต่ที่แน่ใจก็คือ 
 หากการบังคับใช้และการตีความ ปอ 287 ตลอดจนการเกิดขึ้นของ พรบ สิ่งยั่วยุฯ  
   ยังคงเป็นไปในทางให้ตุ๊กตายางเป็นความผิดแล้ว
สิ่งที่เสื่อมที่สุดคงเห็นจะเป็น  ไพรเวซี่หรือสิทธิส่วนบุคคล ของคนที่จะใช้สิ่งเหล่านี้เป็นการส่วนตัว
เฉพาะกับตัวเขา โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครเลย
  นี่คือ right to be let alone  อีกกรณี ที่กฎหมายได้ก้าวล้ำเข้ามา แทนที่จะคุ้มครอง